วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วิกไหมพรม ไอเดียเก๋เพื่อผู้ป่วยมะเร็ง

วิกไหมพรม  ไอเดียเก๋เพื่อผู้ป่วยมะเร็ง













 แค่เห็นรูปครั้งแรกก็เลิฟเลยสำหรับวิกไหมพรมฝีมือของ หลุยส์ วอล์คเกอร์ นักศึกษาสาววัย 22 ปี ที่คว้าเอาไหมพรมนุ่ม ๆ สีสวย ๆ มาถักเป็นวิกผมสารพัดทรง และให้นางแบบสวมใส่แชะรูปไว้เป็นผลงานสำหรับโปรเจคท์จบการศึกษา ภายใต้ชื่อโปรเจคท์ว่า "Woolly Head" แต่ตอนนี้เธอได้แนวความคิดใหม่ วิกไหมพรมของเธอเป็นอะไรได้มากกว่าผลงานจากโปรเจคท์ปีการศึกษาสุดท้ายของนักศึกษาธรรมดา ๆ คนหนึ่ง เพราะมันกำลังจะกลายเป็นวิกที่ช่วยเสริมความมั่นใจให้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ผมร่วงเพราะการทำเคมีบำบัด และผู้ที่มีปัญหาผมบางอีกหลาย ๆ คน 


          หลุยส์เริ่มเรียนรู้การถักนิตติ้งเมื่อ 2 ปีที่แล้ว และเธอก็ได้ถักเล่น ๆ มาตลอด ส่วนผลงานวิกไหมพรม เธอใช้เวลารังสรรค์วิกทรงต่าง ๆ ขึ้นมาร่วมหลายเดือน และก็ต้องยกความดีส่วนหนึ่งให้คุณแม่ของเธอผู้มีอาชีพช่างตัดผม ซึ่งนั่นทำให้ หลุยส์ ได้ซึมซับไอเดียเก๋ ๆ เกี่ยวกับทรงผมเอาไว้มากมาย และได้นำมาประยุกต์ถ่ายทอดในผลงานชุดนี้อย่างเต็มที่ และเมื่อผลงานสำเร็จออกมาก็ล้วนมีแต่เสียงตอบรับในทางบวกทั้งสิ้น ไม่ว่าจะชมว่าเป็นทรงที่สวย บ้างก็บอกว่าอยากมีทรงผมแบบนี้บ้าง เธอจึงได้แรงจุดประกายว่าผลงานของเธอเป็นที่ชื่นชอบและสามารถเป็นประโยชน์ได้กับหลาย ๆ คน จนในตอนนี้เธอตัดสินใจที่จะดีไซน์ทรงใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อผู้ป่วยที่กำลังทำเคมีบำบัดโดยเฉพาะด้วย

         


ใครชอบเรื่องงานฝีมือและสนใจผลงานถักของเธอลองเข้าไปติดตามกันได้ที่ เฟซบุ๊ก

 ของเธอนะคะ .. ฝีมือดีแถมยังใจบุญแบบนี้สิ น่ารักที่สุดเลยยย >.<
















ที่มา    ::    กระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก   ::      เฟซบุ๊ก Sincerely Louise

ไหมพรมบำบัด

ไหมพรมบำบัด




ปีนี้ลมหนาวมาเร็วจริงๆนะคะ แถมยังมีการพยากรณ์อากาศเอาไว้ว่าอากาศจะหนาวเย็นมากกว่าทุกๆปี ดังนั้น เพื่อให้เข้ากับฤดูกาล กิจกรรมกลุ่มที่หนึ่งนำมาจัดให้ผู้ป่วยมะเร็งและญาติที่มารับการรักษาที่ศูนย์มะเร็งอุดรธานี ในช่วงนี้คือกิจกรรมกลุ่มไหมพรมบำบัดค่ะ อ่านและชมภาพกิจกรรมไหมพรมบำบัดปีที่แล้วค่ะ





หลังจากที่กิจกรรมนี้ได้รับการตอบรับอย่างท่วมท้นในปีก่อน ผู้ป่วยและญาติมีความสุขมาก เจ้าหน้าที่ก็มีความสุขเช่นกันค่ะ บางท่านถึงขั้นเลิกเหล้าเลิกการพนันได้อีกด้วย หนึ่งจึงสนใจกิจกรรมนี้เป็นพิเศษ เพราะได้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมมากมาย และในเมื่อกิจกรรมกลุ่มไหมพรมบำบัดมีประโยชน์มากมายขนาดนี้ หนึ่งจึง review ดูว่ามีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการถักไหมพรมบ้างหรือไม่ เพื่อจะนำมาทำเป็น evidence best practice ในโอกาสต่อไปค่ะ และพบมีรายงานเอาไว้บ้างแล้วค่ะเกี่ยวกับการถักนิตติ้งและโครเชต์






-Knitting as the New Yoga 
-Program intertwines knitting and crocheting in a surprising sort of therapy
-Harvard … ที่ Mind/Body Institute (สถาบันวิจัยทางกายและจิต) ดร.เฮอร์เบิร์ต เบนสัน ได้ให้ความเห็นว่า  “ช่วงเวลาที่ถักนิตติ้ง เราจะได้ครุ่นคิด ไตร่ตรอง และก้มมองตัวเอง…ประโยชน์ของนิตติ้งจึงให้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกับการทำสมาธิหรือสวดมนต์เลยทีเดียว" เป็นต้น
จากรายงานกิจกรรม งานวิจัย หรือบทความ ที่เกี่ยวข้องกับการถักนิตติ้งและโครเชต์ ทั้งหลายส่วนใหญ่จะคล้ายกันตรงที่ การถักไหมพรมช่วยทำให้คลายเครียด ความวิตกกังวล ดึงให้เราอยู่กับปัจจุบัน หยุดนิ่งและทุ่มเทความตั้งใจลงไปที่การถักไหมพรมในมือ เป็นการฝึกให้เราได้ครุ่นคิด ไตร่ตรอง และก้มมองตัวเอง ฝึกให้สภาวะอารมณ์ของเราคงที่ ช่วยในด้านการเข้าสังคมสำหรับบุคคลที่โดดเดี่ยว เหงา แยกตัว กิจกรรมนี้จะช่วยให้ได้มีโอกาสพูดคุย มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นมากขึ้น เกิดการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และร่วมสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
ดังนั้นการถักนิตติ้งและโครเชต์ ก็ไม่ใช่แค่กิจกรรมยามว่างธรรมดาๆซะแล้วนะคะ มีผลต่อสุขภาพทั้งกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ แบบองค์รวม เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ ซึ่งตรงกับคอนเซปการดูแลผู้ป่วยแบบ holistic care
 
 
 


 
 
ที่มา  ::   http://www11.georgetown.edu/research/gucchd/nccc/body_mind_spirit/
 
อ่านเพิ่มเติมได้ที่  ::   กลุ่มไหมพรมบำบัด ,  ศูนย์มะเร็งอุดรธานี





งานฝีมือ คืออะไร

งานฝีมือ คืออะไร





งานฝีมือ คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรบ้างเอ่ย ?
รวมสาระความรู้เกี่ยวกับงานฝีมือ สิ่งประดิษฐ์ทำจากมือที่ใช้เวลาว่างทำที่บ้าน




1. ความหมายของงานประดิษฐ์

งานประดิษฐ์ หมายถึง สิ่งที่จัดทำขึ้น โดยใช้ความคิด สร้างสรรค์ให้เกิดความประณีต สวยงาม น่าสนใจ เพื่อประโยชน์ที่พึงประสงค์ เช่น งานประดิษฐ์ดอกไม้ ผ้ารองจาน กระเป๋า ตุ๊กตา หมวก ผ้าพันคอ  ที่คั่นหนังสือ กระทงใบตอง บายศรี พานดอกไม้ มาลัยแบบอื่นๆ





2. ความสำคัญและประโยชน์ของงานประดิษฐ์

2.1 ประหยัดค่าใช้จ่าย
2.2 ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
2.3 ความเพลิดเพลิน
2.4 เพิ่มคุณค่าของวัสดุ
2.5 สร้างความแปลกใหม่ที่มีอยู่เดิม
2.6 ชิ้นตรงตามความต้องการ
2.7 เป็นของกำนัลแก่ผู้อื่น
2.8 อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย
2.9 เพิ่มรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว
2.10 เกิดความภูมิใจในตนเอง





3 ประเภทของงานประเดิษฐ์

3.1ของใช้ได้แก่สิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต เครื่องใช้ในบ้าน เครื่องใช้ส่วนตัวเป็นต้น
3.2 ของใช้ประดับตกแต่ง นำไปประดับตกแต่งให้เกิดความสวยงามได้แก่ กรอบรูป ดอกไม้ประดิษฐ์ เครื่องแขวน
3.3 ของเล่น มีความสำคัญต่อพัฒนาการของเด็กช่วยให้เจริญเติบโตแข็งแรงมีสุขภาพดี ทั้งกาย จิตใจ สังคมและสติปัญญา
3.4 ของใช้ในงานพิธี สิ่งที่ผลิตที่ประกอบในงานพิธีได้แก่บายศรี พานพุ่ม มาลัย ชนิดต่างๆ




4.คุณค่าของงานประดิษฐ์

4.1 คุณค่าในการใช้สอย การประดิษฐ์ชิ้นงานขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์แรกคือประโยชน์ใช้สอย ต่อมาเกิดความชำนาญ สามารถดัดแปลง ปรับปรุง พัฒนาให้งานประดิษฐ์ต่างๆทันสมัยยิ่งขึ้น
4.2 คุณค่าด้านด้านความงาม ถึงแม้ว่างานประดิษฐ์ เพื่อประโยชน์ใช้สอยก็ตามแต่ผู้ประดิษฐ์ชิ้นงานต่างๆก็ไม่ได้มองข้ามความงาม โดยพิจารณาถึงองค์ประกอบต่อไปนี้
4.2.1 สัดส่วน
4.2.2 สมดุล
4.2.3 จังหวะ
4.2.4 จุดเด่น
4.2.5 ความผสมผสานกลมกลืน
4.3คุณค่าการแสดงออกทางศิลปะและอารมณ์
4.4คุณค่าที่เกิดจากลักษณธเฉพาะท้องถิ่นย่อมมีวิธีการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมกับการใช้สอยและคตินิยมของท้องถิ่น



เปลี่ยนงานฝีมือให้เป็นธุรกิจโกยเงิน

เปลี่ยนงานฝีมือให้เป็นธุรกิจโกยเงิน
     






 การผลิตงานฝีมือถือเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตที่โดดเด่นมากของสังคมไทย ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะได้รับการปลูกฝังในเรื่องนี้ตั้งแต่ยังเด็ก บวกกับวัฒนธรรมวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยท้องถิ่นที่มักผลิตเสื้อผ้าและเครื่องมือใช้เอง จึงทำให้คนไทยส่วนใหญ่มีความเชี่ยวชาญในการทำงานฝีมือมากเป็นพิเศษ ซึ่งงานฝีมือที่ว่านี้จัดอยู่ในประเภทของการทำธุรกิจที่สามารถสร้างรายได้อยู่พอสมควรถึงแม้มันจะไม่ได้เงินมากขนาดเป็นกอบเป็นกำแต่ก็มากพอที่เลี้ยงดูตนเองและคนในครอบครัวได้อย่างไม่ยากลำบากนัก จึงจัดเป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีความน่าสนใจมากสำหรับผู้ประกอบการที่ไม่ได้มีจุดเด่นและความได้เปรียบหลักของการทำธุรกิจอยู่ที่การมีเงินทุนแบบเป็นถังๆ

แต่อย่างที่กล่าวไปว่างานฝีมือคือสิ่งที่คนไทยทุกคนมีมุมหนึ่งของตนเองที่พอจะทำได้ การจะเปลี่ยนงานฝีมือให้เป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจึงเป็นเรื่องที่ต้องใช้หลักการรวมถึงองค์ประกอบที่สำคัญในเรื่องต่างๆอยู่พอสมควร โดยองค์ประกอบสำคัญที่จะขาดเสียไม่ได้สำหรับการทำธุรกิจงานฝีมือให้ประสบความสำเร็จและทำกำไรในระดับที่น่าพอใจมีส่วนที่น่าสนใจดังต่อไปนี้



 

มีเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นตัวนำ

 

 


สร้างสรรค์สินค้าให้มีเอกลักษณ์ติดตา ต้องใจ
ศิลปะงานฝีมือจะขายได้สิ่งสำคัญอันดับแรกๆ ที่ต้องคำนึงถึงก็คือเรื่องของเอกลักษณ์และความสวยงาม ซึ่งสองสิ่งนี้ต้องถือเป็นตัวนำอันดับหนึ่งเลยถ้าคิดจะทำธุรกิจประเภทนี้ให้ประสบความสำเร็จ เพราะสินค้างานฝีมือคุณค่าในตัวมันเองหลักๆจะอยู่ที่ความสวยงามไม่ใช่เรื่องของการนำไปใช้งานจริง ผู้บริโภคจะคำนึงถึงในข้อนี้มากที่สุดหากต้องการจะซื้อสินค้าที่เป็นงานฝีมือ ผู้ประกอบการจึงต้องมีการประยุกต์ในเรื่องของการออกแบบและสร้างสีสันลวดลายให้มากเข้าไว้ก่อน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือร่มเชียงใหม่ที่ถือเป็นสินค้างานฝีมือที่สร้างรายได้เป็นจำนวนมากให้กับผู้ประกอบการและสมาชิกชมรมแม่บ้านในจังหวัดเชียงใหม่ โดยสาเหตุหลักที่สามารถขายสินค้าตัวนี้ได้เป็นจำนวนมากก็เนื่องมาจากความสวยงามของลวดลายบนตัวร่มที่สร้างความประทับใจให้กับผู้บริโภคจนนำไปสู่การตัดสินใจซื้อเพื่อนำไปใช้ตกแต่งบ้านและเป็นของฝากในที่สุด แต่เราจะไม่เคยเห็นผู้บริโภคซื้อร่มชนิดนี้เพื่อนำมากันแดดหรือกันฝนเลยเพราะมันผิดจุดประสงค์ที่ผู้บริโภคใช้ในการเลือกซื้อตั้งแต่แรก


 

 

คุณภาพคือสิ่งการันตียอดจำหน่าย

 

คุณภาพในทางความหมายของงานฝีมือนั่นก็คือความปราณีตนั่นเอง เนื่องจากอย่างที่กล่าวไปแล้วว่างานฝีมือกับคนไทยเป็นของคู่กันจึงทำให้คนไทยจำนวนมากมีมีพรสวรรค์ในเรื่องนี้มากเป็นพิเศษ การจะขายของจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างสาหัสพอสมควรถ้างานฝีมือของผู้ประกอบการไม่เข้าขั้นดีจริงก็เป็นเรื่องยากที่จะดูดเงินจากกระเป๋าของผู้บริโภคให้เทมาทางผู้ประกอบการได้
ดังนั้นความปราณีตของชิ้นงานแต่ละชิ้นจึงมีความสำคัญมาก สมควรที่ผู้ประกอบการทุกคนจะต้องให้ควมสำคัญในสิ่งนี้ให้มากเป็นพิเศษ ด้วยการฝึกทักษะในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องและทำชิ้นงานแต่ละชิ้นให้ออกมาบรรจงและปราณีตแบบถึงขีดสุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการตกแต่งลวดลายให้สวยงาม การเดินเส้นด้ายและเย็บปักสำหรับพวกงานที่เกี่ยวกับหัตถศิลป์ ตัวอย่างเช่น งานศิลปะทุกชิ้นของศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อาทิ ผลิตภัณฑ์จักสาน การทอผ้า เครื่องเบญจรงค์ ที่ต่างมีจุดเด่นที่ความปราณีตของชิ้นงานทุกชิ้น เป็นต้น




นำไปใช้งานได้จริง

 

 

ถ้ายิ่งทั้งสวยและใช้งานได้จริง ก็ยิ่งทำให้ขายง่ายขึ้น
ถึงแม้ว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่จะซื้อสินค้าประเภทงานฝีมือด้วยเหตุผลในเรื่องของความสวยงามเป็นหลักใหญ่ก็ตาม แต่ถ้าสินค้าของท่านสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริงมันจะเป็นตัวช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจซื้อสินค้าของท่านด้วยระยะเวลาที่รวดมากยิ่งขึ้น เพราะปัจจุบันต้องยอมรับว่ามีผู้บริโภคอยู่เป็นจำนวนไม่น้อยที่มองงานฝีมือต้องเป็นอะไรที่มากกว่าความสวยงามโดยให้น้ำหนักเพิ่มไปที่ความสามารถในการใช้งานที่มีอยู่ ผู้ประกอบการจึงต้องพยายามดัดแปลงและเพิ่มความสามารถพิเศษในส่วนนี้ลงไปในตัวงานฝีมือของท่าน ตัวอย่างเช่น พัดในรูปแบบต่างๆ หรืองานสานประเภทกระเป๋าและรองเท้า เป็นต้น



 

การตรงต่อเวลาคือพื้นฐานของอนาคต

 

 

ธุรกิจงานฝีมือมักจะมีปัญหาค่อนข้างมากหากต้องทำงานโดยมีกรอบในเรื่องระยะเวลาเป็นตัวกำหนด เนื่องจากงานฝีมือจำเป็นต้องใช้ความละเอียดอ่อนบวกกับความปราณีตในการทำงานมากเป็นพิเศษ ผู้ประกอบการหลายคนจึงมักยึดเอาตัวเองเป็นเจ้านายทำงานตามอารมณ์และความพอใจเป็นหลักเปรียบตัวเองเหมือนกับศิลปินคนหนึ่ง ซึ่กหากผู้ประกอบการเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงและงานของท่านได้รับความนิยมเรื่องดังกล่าวก็คงไม่ส่งผลกระทบอะไรมากนัก แต่หากผู้ประกอบการไม่ใช่เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงแล้วละก็อย่าได้ริอาจทำตัวมีปัญหากับเวลาโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้ท่านขายงานฝีมือได้ยากขึ้น และไม่มีลูกค้าคนไหนพร้อมที่จะรอสินค้าจากท่านอีกต่างหาก ตัวอย่างที่พบเห็นได้บ่อยๆ คือ กลุ่มแม่บ้านที่มารับงานฝีมือเป็นชิ้นๆจากทางร้านมาทำซึ่งมักจะส่งงานช้าในช่วงแรกๆ จนเป็นผลให้ถูกหักเงินจากราคาเต็มในที่สุด



เครือข่ายตลาดทำให้ธุรกิจอยู่รอด

 

 

ต้องยอมรับว่าถึงแม้สินค้าที่เกี่ยวข้องกับงานฝีมือจะเป็นหนึ่งในสินค้าที่ขายดีและทำกำไรได้มากพอสมควรแต่มันไม่ใช่สินค้าที่สามารถขายได้ทุกวัน ถ้ายิ่งวันไหนผู้บริโภคมาเดินจับจ่ายใช้สอยบางตาด้วยแล้วมันก็แทบจะขายไม่ได้เลย ดังนั้นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ประกอบการที่คิดจะลงทุนอย่างจริงจังกับธุรกิจงานฝีมือก็ขอให้สำรวจตลาดที่จะมารับสินค้าของท่านเป็นประจำให้ดีเสียก่อน เพราะถึงแม้ตลาดเหล่านี้จะให้รับซื้อสินค้าของท่านในราคาที่ต่ำกว่าการขายด้วยตนเองที่ท้องตลาดแต่พวกเขามีความแน่นอนและเที่ยงตรงในการรับซื้อมาก อีกทั้งในหลายๆที่ยังมักมีการสั่งออร์เดอร์ให้มาส่งแบบเป็นประจำอีกด้วย ซึ่งบางครั้งผู้ประกอบการมิอาจจะหาทั้ง 3 สิ่งนี้ได้จากผู้บริโภคทั่วไป จึงจำเป็นที่ผู้ประกอบการจะต้องสร้างเครือข่ายตลาดที่จะมาคอยรองรับงานของท่านเองก่อนที่จะทำธุรกิจประเภทนี้อย่างจริงจัง

ธุรกิจงานฝีมือเป็นอะไรที่มีความน่าสนใจมากเพราะใช้เงินลงทุนไม่มาก อีกทั้งยังสามารถแสดงออกในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่ จึงเป็นธุรกิจที่มีความเหมาะสมสำหรับผู้ประกอบการที่อยากมีธุรกิจเล็กๆที่สามารถถักทอสานฝันของตนเองได้อย่างยิ่งใหญ่โดยอาศัยพรสวรรค์และพรแสวงของตนเป็นรากฐานของธุรกิจ
 


 



ที่มา  ::    http://incquity.com/



ประวัติการถักโครเชต์

ประวัติการถักโครเชต์
 
 

 
 
 
ประวัติการถักโครเชต์  เริ่มขึ้นที่ไอร์แลนด์ ช่วงทศวรรษ 1820 มาดมัวแซล รีเอโก เดอ ลา บลองชาแดร์  สาวที่ชอบเย็บปักถักร้อยพบว่า ถ้านำอุปกรณ์เย็บปักถักร้อยของชาวไอริชมาถักลายลูกไม้แบบสเปนจะทำให้ดูสวยงามมากขึ้น จึงทดลองถักหลายครั้งหลายหนนานถึง 5 ปี

 
จนในปี ค.ศ.1836 เธอออกหนังสือลายถักโครเชต์ แต่หนังสือไม่ได้รับการตีพิมพ์แพร่หลายเท่าใดนัก และชื่อเสียงของเธอจึงไม่ค่อยมีคนรู้จักจนกระทั่งทุกวันนี้


อย่างไรก็ตาม จากการตีพิมพ์หนังสือดังกล่าว ทำให้มีศูนย์ถักโครเชต์ทั่วประเทศ โดยศูนย์กลางใหญ่ของทางเหนืออยู่ที่เมืองคอร์ก และทางใต้อยู่ที่เมืองโคลนส์ ในปี 1845 จึงเริ่มมีการสอนถักโครเชต์กันในโรงเรียน


สำหรับผู้ที่ทำให้การถักโครเชต์เป็นที่แพร่หลาย ได้แก่ นางดับบลิว.ซี.โรเบิร์ตส์ ซึ่งสอนเหล่าแม่บ้านที่ยากจนให้ถักโครเชต์ เป็นอาชีพ เพื่อนำผลงานถักทอนี้ไปขายแลกเงินมาซื้ออาหาร ความคิดดังกล่าวทำให้เกิดอุตสาหกรรมย่อม ๆ ขึ้นที่เมืองคิลแดร์  โดยมีคนงานราว 700 คน และ 24 คนที่เป็นยอดฝีมือก็ไปเปิดศูนย์โครเชต์ที่ส่วนต่าง ๆ ของประเทศ


นอกจากนางโรเบิร์ตส์ แล้ว ยังมีนางคาสซันดร้าแฮนด์ อีกคนที่ช่วยทำให้วงการโครเชต์เติบโต ด้วยความที่สามีของนางแฮนด์เป็นวุฒิสมาชิก นางจึงมีบทบาทคอยช่วยเหลือคนจน ด้วยการเปิดอุตสาหกรรมโครเชต์ที่เมืองโคลนส์ กิจการฟูเฟื่องถึงขนาดส่งสินค้าไปขายที่ดับลิน ลอนดอน ปารีสและเวียนนา และในปี 1893 โครเชต์ก็ข้ามทวีปไปฮิตที่อเมริกา


 




*** ที่มาจากคอลัมน์ รู้ไปโม้ด  ถามมา-ตอบไปสไตล์ น้าชาติ ประชาชื่น *** หนังสือพิมพ์ข่าวสด



รวมลิ้งค์งานถักโครเชต์ :: หมวก

รวมลิ้งค์งานถักโครเชต์
 
หมวก